จังหวัดพิษณุโลก เดินหน้าseason 2โครงการฟางทองคำ ลงนามบันทึกข้อตกลง การบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรระหว่างโครงการชลประทานจังหวัดพิษณุโลก กับตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้น้ำคลองแยงมุม ส่งเสริมการหยุดเผาพื้นที่เกษตร ปี 2567

 วันที่ 15 มีนาคม 2567  นายภูสิต สมจิตต์  ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เปิดโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร  ประจำปี 2567 เกษตรกรยุคใหม่ รวมใจ หยุดเผา ที่หมู่ที่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม  พร้อมร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง  การบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ระหว่างโครงการชลประทานจังหวัดพิษณุโลก  กับตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้น้ำคลองแยงมุม   เพื่อลดการเผาทำลายในพื้นที่  ก่อนปล่อยขบวนรถฟางทองคำ  เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนให้พื้นที่และบริเวณใกล้เคียง   นำเศษฟางจากแปลงเกษตรมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เพื่อลดการเผา  และลดผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม  โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5
 นายมนัส เสียงก้อง เกษตรจังหวัดพิษณุโลก ระบุว่า  จังหวัดพิษณุโลก เป็นแห่งแรกที่ประสบผลสำเร็จเรื่องโครงการฟางทองคำที่จัดระบบโดยใช้ทะเบียนเกษตรกร และสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจค้าฟางข้าว ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายให้แก่เกษตรกรในพื้นที่บางระกำโมเดลและนอกบางระกำโมเดลในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก  และในปีนี้มีการผลักดันการจัดตั้งชมรมฟางอัดก้อนสร้างเครือข่ายทุกอำเภอและจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นศูนย์รวมจำหน่ายฟางอัดก้อนของจังหวัดฯ  ถือเป็นนโยบาบของผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกที่ได้ขับเคลือนให้มีการเก็บฝางในพื้นที่ทั้งหมดและเอามาใช้ประโยชน์ อย่างครบวงจร     ล่าสุดสรุปยอดมีการจำหน่ายฟางอัดก้อนไปแล้วรวมกว่า 283 ล้านบาท 
สำหรับกิจกรรมในวันนี้ ถือเป็นฤดูกาลที่ 2  โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลกและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรกร  ได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรพื้นที่นำร่องกลุ่มเดิมหรือกลุ่มใหม่ ตามโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรประจำปี 2567  กลุ่มเป้าหมายสมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอพรหมพิราม และอำเภอวัดโบสถ์ ฯลฯ    โดยนําเสนอทางเลือกการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุทางการเกษตร และเทคโนโลยีทางการเกษตรทดแทนการเผา เพื่อให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการ ผลิตไปสู่การทำการเกษตรปลอดการเผาและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านการถ่ายทอดความรู้เรียนรู้และสาธิตให้เกษตรกรได้ปฏิบัติจริง เช่น  การนำฟางมาทำเป็นก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐาน , นำมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ ,  นำไปอัดก้อนเพื่อจำหน่าย หรือที่เรียกว่าฟางทองคำ โดย ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปต่อยอดหรือนำไปประกอบอาชีพได้   และนำไปสู่การหยุเผาอย่างยังยืน


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar